กางเต็นท์ การออกไปกางเต็นท์กลางแจ้งนับเป็นกิจกรรมที่ใครหลาย ๆ คนชื่นชอบ เพราะทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด มีบรรยากาศแนวผจญภัยที่สนุกสนาน และแปลกใหม่แตกต่างกับรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเดิม ๆ ทำให้การกางเต็นท์กลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดีเมื่อเป็นการใช้ชีวิตกลางแจ้งจึงทำให้นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอุปกรณ์ และข้าวของที่จำเป็นสำหรับการกางเต็นท์ให้พร้อมก่อนออกไปท่องเที่ยว แต่การพกพาอุปกรณ์มากเกินความจำเป็นก็อาจกลายเป็นอุปสรรคในการเดินทางได้ จึงขอรีวิว อุปกรณ์ กางเต็นท์ ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดในทุก ๆ การเดินทางดังต่อไปนี้
กางเต็นท์ เต็นท์ แน่นนอนว่า อุปกรณ์ กางเต็นท์
อันดับแรกย่อมต้องเป็นเต็นท์นอนอย่างแน่นอน ซึ่งเต็นท์นั้นมีให้เลือกหลายแบบ หลายขนาด ซึ่งขึ้นกับวิธีการใช้สอยที่ต้องการ สภาพอากาศและพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน เพื่อให้สามารถเลือกเต็นท์ที่แข็งแรงทนทาน สะดวกต่อการใช้งาน เหมาะสมกับจำนวนผู้ที่ต้องการนอนเต็นท์ โดยสามารถแบ่งประเภทของเต็นท์ได้ ดังนี้
เต็นท์โดม (Dome Tent)
เป็นเต็นท์ที่มีน้ำหนักเบา กางง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้สมอบก พื้นเต็นท์เป็นรูปสี่เหลี่ยม จึงทำให้มีพื้นที่กว้างขวาง สามารถนอนได้หลายคนด้านบนเต็นท์จะมีช่องระบายอากาศ บางรุ่นอาจมีฟลายชีทและกราวนด์ชีทเพิ่มเติมเพื่อกันน้ำค้าง หรือเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านหน้าเพิ่มเติม ข้อดีของเต็นท์ประเภทนี้คือน้ำหนักเบา กางง่าย จึงเหมาะกับนักท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์หน้าใหม่ พื้นที่ใช้งานกว้างขวาง และมีราคาไม่แพง แต่มีข้อเสียคือมีไซส์ให้เลือกค่อนข้างน้อย พื้นที่ด้านบนเต็นท์ค่อนข้างแคบ อาจทำให้รู้สึกอึดอัดได้
เต็นท์ป๊อปอัป (Pop-up Tent)
เป็นเต็นท์ที่ใช้งานได้สะดวก เวลากางเต็นท์ไม่จำเป็นต้องต่อเสา ขึงผ้า หรือปักสมอบก เป็น อุปกรณ์ ที่มาในรูปแบบกระเป๋า เวลาใช้งานก็เพียงแค่รูดซิป ดึงเต็นท์ออกมาจากกระเป๋า เต็นท์ก็จะกางออกได้เองแบบอัตโนมัติ เมื่อใช้งานเสร็จก็พับเก็บเอาไว้ในกระเป๋า ซึ่งนับเป็นข้อดีของเต็นท์ประเภทนี้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่ค่อยแข็งแรง และหากเป็นการค้างแรมในเต็นท์เป็ยนาน ๆ จะเสียหายได้ง่าย
เต็นท์สูบลม (Inflatable Tent)
เป็นเต็นท์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถกางง่าย นักเดินทางคนเดียวก็สามารถกางได้ แค่สูบลมเข้าไปให้เต็นท์พองตัวขึ้นก็ใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เสาค้ำ แต่ก็มีข้อเสียคือน้ำหนักมาก และนักเดินทางยังต้องพกที่สูบลมไปด้วย และขนาดเมื่อกางยังค่อนข้างเล็กอีกด้วย
เต็นท์อุโมงค์ (Tunnel Tent)
เป็นเต็นท์ที่มีพื้นที่การใช้สอยค่อนข้างมาก มักมีขนาดเพียงพอให้นอนพร้อม ๆ กันได้หลายคน มีน้ำหนักเบา และมีประตูเข้าออกชัดเจน แต่ค่อนข้างลำบากเวลากางเต็นท์ และมักไม่ทนกับสภาพอากาศที่รุนแรง
กางเต็นท์ แบบเคบิน (Cabin Tent)
เป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนแดดทนฝนได้ดี มีหลายขนาด กรณีเต็นท์ขนาดกว้างนั้นสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้หลายคน ยิ่งไซส์ใหญ่มากเท่าใดก็ยิ่งช่วยให้สามารถแบ่งเป็นห้อง ๆ ได้คล้ายกับบ้านเลยทีเดียว แต่ก็มีข้อเสียที่น้ำหนักมาก จำเป็นต้องใช้คนหลายคนในการกางเต็นท์
เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน (Bivy Sacks)
เป็นเต็นท์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับนอนคนเดียว ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายถุงนอน แต่มีพื้นที่คลุมรอบหัวโดยที่หัวยังสามารถขยับไปมาและมองไปรอบ ๆ ได้ สามารถกันยุง กันแมลงได้ จึงเหมาะกับทริปที่ต้องการนอนดูดาวแบบสบาย ๆ ไม่ต้องเผชิญลมฟ้าอากาศมากนัก แต่ก็มีข้อเสียเพราะนอนได้อย่างเดียว นั่งพักหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ในเต็นท์ไม่ได้
เต็นท์สำหรับแบ็คแพ็ค (Backpacking Tent)
เป็นเต็นท์ที่มีน้ำหนักเบามาก ทั้งผ้าและตัวเสาทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบามาก และถูกออกแบบให้พับเก็บง่าย เพื่อให้เป็นอุปกรณ์กางเต็นท์ที่เหมาะกับนักเดินทางแบบแบ็คแพ็คเป็นอย่างมาก เน้นประโยชน์ใช้สอยที่ดี สามารถกันลมได้ระดับหนึ่ง แต่ก็มีข้อเสียที่หลังคาเต็นท์จะเตี้ย แคบ และมักมีแต่ขนาดเล็ก ๆ
เต็นท์กระโจม (Teepee Tent)
เป็นเต็นท์ที่มียอดแหลม ๆ คล้ายกระโจมของอินเดียนแดง มักใช้เสาตรงกลางเพียงต้นเดียวก็เพียงพอ และใช้เพียงผ้าเต็นท์คลุม แล้วยึดปลายผ้าด้วยสมอบก ก็สามารถกางออกมาใช้งานได้ง่าย ๆ พื้นที่ด้านบนค่อนข้างกว้าง ทำให้ไม่อึดอัด แต่ข้อเสียคือมีน้ำหนักมาก น้ำอาจเข้าไปในเต็นท์ได้เมื่อฝนตก
เต็นท์ทรงจีโอเดสิคโดม (Geodesic Tent)
เป็นเต็นท์ที่ได้รับการพัฒนามาจากเต็นท์โดม แต่มีความแข็งแรงทนทานกว่า เหมาะสำหรับนักเดินทางที่สามารถกางเต็นท์ได้ค่อนข้างชำนาญแล้ว แต่ต้องการเดินทางไปในบริเวณที่อากาศไม่ค่อยดีนัก อย่างพื้นที่ที่มีลมแรง เป็นต้น แต่ข้อเสียคือกางค่อนข้างยาก และแพ็คเก็บได้ลำบาก
กางเต็นท์ ชุด เครื่องครัว สำหรับออกไปกางเต็นท์
ทุก ๆ การเดินทางล้วนต้องการอาหารอร่อย ๆ ยิ่งอาหารที่ทำเองท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติก็ยิ่งทำให้เป็นมื้ออาหารแสนอร่อยได้ไม่ยาก ดังนั้นอุปกรณ์ กางเต็นท์ประจำทริปที่ควรพกไป คือเครื่องครัวดี ๆ สักชุด แต่หากเป็นเครื่องครัวแบบที่ใช้ในครัวเรือนก็คงมีน้ำหนักมาก และไม่สะดวกต่อการใช้งาน ufabet เว็บหลัก และพกพาไปในการเดินทางอย่างแน่นอน แต่หากใช้ชุดหม้อแค้มปิ้ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบอาหารที่ถูกออกแบบมาสำหรับการกางเต็นท์แล้ว ก็จะมีขนาดกะทัดรัด วัสดุของเครื่องครัวมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักและขนาดพอเหมาะกับการพกพา รูปทรงของอุปกรณ์สำหรับแคมป์ปิ้งมักถูกออกแบบให้จัดเก็บได้สะดวก น้ำหนักเบา และประหยัดพื้นที่ แต่เมื่อใช้งานแล้ว เวลาทำความสะอาดควรหลีกเลี่ยงการใช้สก๊อตไบร์ทหรืออุปกรณ์แข็ง ๆ มาขูดขีดชุดหม้อแค้มปิ้ง ใช้เพียงฟองน้ำทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว
ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/แคมป์ไฟ-คลังสินค้า-กลางแจ้ง-หม้อ-896196/
เก้าอี้แค้มปิ้ง สนามเดินป่า
แม้ว่าการนอนกลางแจ้งจะสนุก แต่การลุกนั่งที่สบายก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เก้าอี้แค้มปิ้งดี ๆ จึงเป็น อุปกรณ์ กางเต็นท์ที่ควรติดเอาไปด้วย ไว้นั่งฟังเสียงธรรมชาติ นั่งคุยกับเพื่อน หรือนั่งประกอบอาหารก็สะดวกมากขึ้น ลักษณะเด่นของเก้าอี้แค้มปิ้งคือสามารถพับเก็บได้ง่าย พกพาสะดวก เน้นประโยชน์การใช้งาน และมีน้ำหนักเบา มีหลายรุ่นหลายขนาดให้เลือก โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกตามรูปแบบการใช้งาน หรือขนาดที่ต้องการได้ แต่ต้องพิจารณาว่ายิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีน้ำหนักมากเท่านั้น และเมื่อใช้งานแล้วควรเช็คทำความสะอาดเก้าอี้ให้ดี โดยใช้แปรงสีฟันที่เก่า ๆ ชุบน้ำสบู่อ่อน ๆ มาแปรงบริเวณที่มีคราบสกปรกอย่างเบามือ จากนั้นจึงใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดมาเช็ด แล้วนำไปผึ่งแดดจนแห้ง ก่อนเก็บเข้าที่ เพื่อนำไปใช้งานในครั้งต่อไป